ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral
Theories)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism หรือ S-R
Associationism)เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response)
โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ
การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง
นักจิตวิทยาสามารถแยกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น
2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.
พฤติกรรมเรสปอนเดนส์ (Respondent Behavior ) เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าก็จะตอบสนองเองตามธรรมชาติ
2.
พฤติกรรมโอเปอเรนต์ (Operant Behavior) เป็นพฤติกรรมที่บุคคล หรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา(Emitted)โดยปราศจากสิ่งเร้าแน่นอน
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข
ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR)
แนวคิดของวัตสัน(Watson)
วัตสันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของมนุษย์โดยศึกษาเรื่องความกลัว
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ให้ข้อสังเกตว่าเด็กจะกลัวเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน
แต่จะไม่กลัวสัตว์ประเภทหนู การทดลองโดยการปล่อยให้อัลเบิร์ตเล่นกับหนูขาวในขณะที่เอื้อมมือไปจับหนูขาวก็ใช้ฆ้อนเคาะแผ่นเหล็กเกิดเสียงดัง
จนทำให้อัลเบิร์ตกลัวหนูขาว
ต่อมาแก้โดยให้มารดาอุ้มและให้อัลเบิร์ตจับหนูขาวแรกๆยังกลัวอยู่แต่พอแม่ปลอบว่าไม่ต้องกลัวและให้จับหนู
จนสามารถจับได้โดยปราศจากความกลัว หลักการนี้เรียกว่า Counter
Conditioning
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant Conditioning Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike) ในการทดลอง
ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น
แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้
จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง
จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก
หลังจากนั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น
จากการทดลองธอร์นไดค์อธิบายว่า
การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก
การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า
แมวเกิดการเรียนรู้ด้วยการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้
กฎการเรียนรู้
1.
กฎแห่งความพร้อม (Law
of Readiness) การเรียนรู้
2.
กฎแห่งการฝึกหัด (Law
of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ
3.
กฎแห่งการใช้ (Law
of Use and Disuse) การเรียนรู้และนำไปใช้บ่อย ๆ
ทฤษฏีการเรียนรู้ของ
Skinner
Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant
Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น
จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง
ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov
Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม "
ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ
สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน(Antecedent) - พฤติกรรม(Behavior)
- ผลที่ได้รับ(Consequence)
ซึ่งเขาเรียกย่อๆ
ว่า A-B-C
ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องไป
ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ
การศึกษาในเรื่องนี้
Skinner
ได้สร้างกล่องขึ้นมา มีชื่อเรียนกว่า Skinner Box กล่องนี่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีคานหรือลิ้นบังคับให้อาหารตกลงมาในจาน
เหนือคานจะมีหลอดไฟติดอยู่ เมื่อกดคานไฟจะสว่างและอาหารจะหล่นลงมา Skinner
Box นำนกไปใส่ไว้ในกล่อง
และโดยบังเอิญนกเคลื่อนไหวไปถูกคานอาหารก็หล่นลงมา
อาหารที่นกได้นำไปสู่การกดคานซ้ำและการกดคานแล้วได้อาหาร
การเสริมแรง(Reinforcement
)
การเสริมแรง(Reinforcement
) หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก
มีความคงทนถาวร เช่น
การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการในการทดลอง
Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2
ลักษณะคือ
1. ตัวเสริมแรงทางบวก
(Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น
เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
2. ตัวเสริมแรงทางลบ
(Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำออกใช้แล้ว
ทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น เสียงดัง คำตำหนิ อากาศร้อน กลิ่นเหม็น
เป็นตัวเสริมแรงทางลบ
การลงโทษ (Punishment)
การเสริมแรงทางลบและการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอ
แต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน
โดยเน้นว่าการลงโทษเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น