สรุป inside out
Inside out เรื่องราวของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ชื่อว่า ไรลีย์
และ ตัวละครหลักๆ นอกจากไรลีย์และครอบครัว
ก็มีตัวละครที่เป็นตัวแทนของอารมณ์ความรู้สึกต่างๆที่อยู่ในสมองของเธอ
เมื่อตอนเป็นเด็กเธออาศัยอยู่กับพ่อแม่ที่มินนิโซต้า เมืองที่อากาศหนาวเย็น แม้อากาศหนาว
แต่ไรลีย์อยู่ในบ้านที่อบอุ่น พ่อแม่รักและเอาใจใส่ มีเพื่อนที่ดี
มีกีฬาที่ชอบและเล่นได้ดีอย่างฮอกกี้ ไรลีย์เป็นเด็กที่มีความสุข
หนังทำให้เราเห็นว่า ลูกแก้วความทรงจำของไรลีย์มีแต่สีทองเสียมาก
สีทองหมายถึงสีแห่งความสุขจอยเหมือนจะเป็นนางเอกของอารมณ์ต่างๆ ที่ประกอบด้วย
เศร้าซึม(sadness) กลัว (fear) หยะแหยง(disgust)
ฉุนเฉียว(anger) เพราะเวลาที่จอยออกโรง
ไรลีย์จะมีความสุข
มีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะวันหนึ่งไรลีย์ต้องย้ายบ้านไปอยู่ที่ซานฟรานซิสโก
เหมือนพ่อจะมีปัญหาเรื่องเงิน ความเครียด บ้านที่ดูสกปรกไม่น่าอยู่
ต้องย้ายโรงเรียน ทุกสิ่งเข้ามาพร้อมกันทำให้ไรลีย์ยิ้มไม่ออก เธอเริ่มเศร้า โกรธ
กลัว จอยพยายามให้ไรลีย์กลับมามีความสุขเหมือนเดิมโดยพยายามจัดการทุกอย่าง
และบอกให้เศร้าซึมอยู่เฉยๆไม่ต้องทำอะไรเพราะกลัวไรลีย์จะเกิดปัญหา
แต่ในความเป็นจริงเราหลีกเลี่ยงความรู้สึกของเราไม่ได้
เราต้องรู้จักเรียนรู้และยอมรับความรู้สึกอื่นๆด้วย
สิ่งที่ได้จากการดู Inside
out
1. ความเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต
ขึ้นชื่อว่าชีวิต
มันก็ย่อมเต็มไปด้วยความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ชีวิตคนเราจะได้เจอทุกอารมณ์
2. ความสุขไม่ใช่การเริงร่าอยู่ตลอดเวลา
Joy (ความร่าเริง) คือ
อารมณ์ที่โดดเด่นที่สุดของไรลีย์ในวัยเด็ก แต่แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้น
ในวันที่ครอบครัวของเธอต้องย้ายบ้าน ซึ่งทำให้อารมณ์อื่นๆ
เริ่มมีบทบาทในชีวิตของไรลีย์มากขึ้น
3. ความเศร้าสอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
คนเศร้ามักจะเป็นคนที่ชอบคิดใคร่ครวญอะไรต่างๆ
อยู่ในใจเสมอ (คล้ายๆ กับการอ่านคู่มือสมอง) และนั่นก็ทำให้ Sadness
มีความเข้าอกเข้าใจในพื้นที่ต่างๆ ภายในจิตใจของไรลีย์ดีกว่าใคร
4. ความสุขมักจะปนมากับความเศร้าอยู่เสมอ
ความทรงจำหลายๆ
อย่างของคนเรามักจะอยู่ในรูปของความสุขที่ปนมากับความเศร้า หรือที่เรียกกันว่า mixed
feeling ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้ยาก
5. การเก็บกดความเศร้าเอาไว้เป็นเรื่องไม่ดี
ฉากหนึ่งที่สำคัญมากในหนังก็คือ ตอนที่ Joy เอาชอล์คมาวงที่พื้นรอบๆ ตัว Sadness เพื่อไม่ให้เธอออกมาวุ่นวายและทำให้ความทรงจำของไรลีย์เศร้าหมองอีก ซึ่งนั่นก็คือการละเลยความเศร้าที่เกิดขึ้น และพยายามหลอกตัวเองว่ามีความสุขนั่นเอง
เราต้องรู้จักการรับมือกับความเศร้า และหาวิธีทำให้ความเศร้าหายไป
ความเกี่ยวข้องกับทฤษฎี
1. ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
โดยธรรมชาติมนุษย์จะเป็นผู้พร้อมที่จะมีกริยากรรม เช่นกับไรลีย์ เมื่อเขาลืมตาดูโลกขึ้นมาจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก
ในภายในไรลีย์จะมีระบบจัดเก็บรวบรวมกระบวนการต่างๆอย่างต่อเนื่อง
และมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก
มีทั้งการซึมซาบประสบการณ์และการตีความต่างๆ
2. ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
ไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ
และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต เรียกว่า Enactive
Mode เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการจับต้อง เช่น
ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์ นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า
เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้
เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างในโลกได้ด้วยการใช้ Iconic Mode
3. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอองซูเบล
เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่หรือหลักการและกฏเกณฑ์ที่เคยได้เรียนมาแล้วไรลีย์ ที่เคยเล่นกีฬามาแล้วจะสามารถจำวิธีการเล่นได้โดยไม่ต้องจดจำ
4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง
คือ ความรู้ส่วนตัวของแต่ละบุคคลต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือสิ่งที่ตนรู้
จากการเรียนรู้อะไรก็ตามด้วยความเข้าใจ เหมือนกับไรลีย์ที่มีความสามารถทางด้านกีฬาฮอกกี้
เมื่อเธอทำมันได้ดีเธอก็อยากจะทำไมต่อไปเรื่อยๆ
เริ่ม. ซ้ำ ๆ กันแล้วนะครับ ดรีม
ตอบลบ