วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)

การวัดด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
การวัดพฤติกรรมด้านพุทธินิสัย จะใช้ข้อสอบต่างๆเป็นเครื่องมือวัด ส่วนจะใช้ข้อสอบชนิดใด ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการวัด แบ่งข้อสอบได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ให้ตอบโดยอิสระ (Free-response)จำกัดคำตอบ(Restricted response) และ ให้ตอบตามโครงสร้างที่กำหนด (Structused-response)
ชนิดของข้อสอบ
1.       ข้อสอบอัตนัย ข้อสอบชนิดนี้จะตั้งคำถามให้ผู้สอบตอบโดยใช้ภาษาของตนเอง
2.       ข้อสอบเติมคำ/ตอบสั้น ข้อสอบชนิดนี้ต้องการให้นักเรียนตอบเพียงหนึ่งหรือสองคำ หรือตอบเป็นประโยคสั้นๆ หรือเติมข้อความสมบูรณ์
3.       ข้อสอบถูก-ผิด ข้อสอบชนิดนี้จะให้มาเป็นข้อความหรือคำกล่าว แล้วให้ผู้ตอบเลือกว่า ถูก-ผิด จริง-เท็จ
4.       ข้อสอบจับคู่ ข้อสอบชนิดนี้จะประกอบด้วยรายการ 2 พวก พวกหนึ่งอาจเป็นคำจำนวนสัญลักษณ์ อีกพวกหนึ่งอาจเป็นประโยคผู้ตอบจะต้องจับคู่ระหว่าง 2 รายการนี้ให้สัมพันธ์กัน
5.       ข้อสอบเลือกตอบ เป็นข้อสอบปรนัยที่นิยมใช้กันมากกว่าข้อสอบปรนัยแบบอื่น ข้อสอบ
ประเภทนี้มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ (ชวาล  แพรัตกุล 2516 : 166)
1.      ตัวคำถาม (Stem)
2.       ตัวเลือก (Choices หรือ Options) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
 -  ตัวถูก (Correct Choice)
 -  ตัวลวง (Decoys หรือ Distracters)

การเขียนข้อสอบวัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
บลูม (Bloom) และคณะ ได้จำแนกจุดประสงค์ทางการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แบ่งย่อยเป็น 6 ด้าน และแต่ละด้านได้แบ่งเป็นพฤติกรรมย่อย ๆ รวมทั้งหมด 21 พฤติกรรม
พฤติกรรมทั้ง 6 ด้าน มีดังนี้

1.ความรู้ความจำ (Knowledge)
ความรู้ความจำ หมายถึง ความสามารถของสมองที่เก็บสะสมเรื่องราวต่าง ๆ หรือประสบการณ์ทั้งปวง ที่ตนได้รับรู้มา
          1.1 ความรู้ในเนื้อเรื่อง หมายถึง การถามเกี่ยวกับเรื่องราวหรือเนื้อหาสาระตาม
ท้องเรื่องนั้น
 1.1.1 ความรู้เกี่ยวกับศัพท์และนิยาม หมายถึง การถามเกี่ยวกับคำศัพท์ นิยามคำแปล ความหมาย ชื่อ อักษรย่อ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย รูปภาพ
1.1.2 ความรู้เกี่ยวกับกฎและความจริง หมายถึง การถามเกี่ยวกับ กฎ สูตร ความจริงตามท้องเรื่อง ขนาด ทิศทาง ปริมาณ เวลา คุณสมบัติ ระยะทาง เปรียบเทียบ สาเหตุ

1.2 ความรู้ในวิธีดำเนินการ หมายถึง การถามเกี่ยวกับขั้นตอนของกิจกรรมวิธีดำเนินเรื่องราว วิธีประพฤติปฏิบัติ
           1.2.1 ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน หมายถึง การถามเกี่ยวกับแบบฟอร์ม ระเบียบ แบบแผน วัฒนธรรม ประเพณี การใช้คำสุภาพ คำราชาศัพท์
            1.2.2 ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นและแนวโน้ม หมายถึง การถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน -หลัง ข้อคำถามแนวโน้มส่วนใหญ่ใช้คำว่า มักจะ เพราะเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์
           1.2.3 ความรู้เกี่ยวกับการจัดประเภท หมายถึง การถามให้จำแนก แจกแจง จัดประเภท หรือถามในรูปปฏิเสธ เช่น ไม่เข้าพวก ไม่เข้ากลุ่ม
          1.2.4 ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์ หมายถึง ข้อกำหนดที่ยึดเป็นหลักแล้วนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งต่าง ๆ ถามเอกลักษณ์
          1.2.5 ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ หมายถึง การถามวิธีปฏิบัติ การทำกิจกรรมขั้นตอนการทำงาน เช่น ปฏิบัติอย่างไร ควรทำโดยวิธีใดจึงจะมีประสิทธิภาพ

1.3 ความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง หมายถึง ความสามารถในการค้นหาหลักการหรือหัวใจของเรื่อง
          1.3.1 ความรู้เกี่ยวกับหลักวิชาและการขยาย หมายถึง หัวใจของเรื่องราวที่เกิดจากหลาย ๆ ความคิดรวบยอดมารวมกัน การขยายเป็นการขยายความต่อออกไปจากสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่รู้มา หรือสรุปออกจากนอกเรื่องนั้น ๆ
  1.3.2 ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง หมายถึง ถามเกี่ยวกับ คติ และหลักการ ของหลายเนื้อหาที่ไม่สัมพันธ์กัน
ตัวอย่างข้อสอบ
ในวันพ่อแห่งชาติ นักเรียนสามารถใช้โปรแกรม Paintทำสิ่งใดให้พ่อได้
ก.อัดเสียงร้องเพลง
ข.จดหมายบอกรักพ่อ
ค.แผ่นพับเรื่องพ่อ
ง.การ์ดอวยพร
ตอบ ง.การ์ดอวยพร
2.ความเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ความจำไปดัดแปลงปรับปรุง เพื่อให้สามารถจับใจความ หรือเปรียบเทียบ ย่นย่อเรื่องราว ความคิด ข้อเท็จจริงต่าง ๆ 
2.1 การแปลความ หมายถึง ความสามารถแปลสิ่งซึ่งอยู่ในระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งได้ สุภาษิต สำนวน โวหาร
           2.2 การตีความ หมายถึง การจับใจความสำคัญของเรื่องหรือการเอาเรื่องราวเดิมมาคิดในแง่ใหม่
          2.3การขยายความ หมายถึง การคาดคะเนหรือคาดหวังว่า จะมีสิ่งนั้นเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในอดีต หรืออนาคต โดยอาศัยแนวโน้มที่ทราบมาเป็นหลัก
   ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อใดเป็นการฟังเพื่อความจรรโลงใจ (ความเข้าใจ)
. การฟังข่าว
. การฟังเทศน์
. การฟังบรรยาย
. การฟังเพลง 
          ตอบ ข. การฟังเทศน์
3. การนำไปใช้ (Application) หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ ความเข้าใจในเรื่องราวใด ๆ ไปใช้ในสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวันหรือในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
ตัวอย่างข้อสอบ
พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน ลูกดีใจราวกับ.....................
ควรเติมสำนวนใดลงในช่องว่างจึงจะถูกต้องเหมาะสม
ก. ไก่ได้พลอย
ข. วานรได้แก้ว
ค. กิ้งก่าได้ทอง
ง. ปลากระดี่ได้น้ำ
ตอบ ง. ปลากระดี่ได้น้ำ
4.การวิเคราะห์ (Analysis) หมายถึง การแยกแยะพิจารณาดูรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ หรือเรื่องราวต่าง ๆ ว่ามีชิ้นส่วนใดสำคัญที่สุด เป็นการใช้วิจารณญาณเพื่อไตร่ตรอง
          4.1 การวิเคราะห์ ความสำคัญ หมายถึง การพิจารณาหรือจำแนกว่า ชิ้นใด
ส่วนใด เรื่องใด ตอนใด สำคัญที่สุด หรือหาจุดเด่น จุดประสงค์สำคัญ
           4.2การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ หมายถึง การค้นหาความเกี่ยวข้องระหว่างคุณลักษณะสำคัญของเรื่องราวหรือสิ่งต่าง ๆ ว่าสองชิ้นส่วนใดสัมพันธ์กัน
          4.3 การวิเคราะห์หลักการ หมายถึง การให้พิจารณาดูชิ้นส่วน หรือส่วนปลีกย่อยต่าง ๆ ว่า ทำงานหรือเกาะยึดกันได้ หรือคงสภาพเช่นนั้นได้เพราะใช้หลักการใดเป็นแกนกลาง
      
ตัวอย่างข้อสอบ
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในข้อใดที่มีความสำคัญที่สุด
          ก.ซีพียู
          ข.เมาส์
          ค.จอภาพ
          ง.เครื่องพิมพ์
          ตอบ ก.ซีพียู
5. การสังเคราะห์ (Synthesis) หมายถึง ความสามารถในการผสมผสานเรื่องราวหรือสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นเรื่องราวใหม่
           5.1การสังเคราะห์ข้อความ หมายถึง การนำเอาความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ มาผสมหรือปรุงแต่งขึ้นใหม่ เกิดเป็นข้อความหรือเรื่องราวใหม่ ๆ เช่น การเขียนเรียงความ
          5.2 การสังเคราะห์แผนงาน หมายถึง เป็นการวัดความสามารถในการเขียนโครง
การ แผนปฏิบัติงาน
           5.3 การสังเคราะห์ ความสัมพันธ์ หมายถึง การเอาความสำคัญและหลักการต่าง ๆ มาผสมให้เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้เกิดเป็นสิ่งสำเร็จหน่วยใหม่ ที่มีความสัมพันธ์แปลกไปจากเดิม
ตัวอย่างข้อสอบ
          บุคลในข้อใดใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน
ก. อ้อ ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาประวัติเพื่อนต่างโรงเรียน
ข. อู๊ต ค้นหาเพลงไหมไทยทางอินเทอร์เน็ต
ค. เอ ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลทำรายงาน
ง. อิ่ม ใช้อินเทอร์เน็ตแชทหาเพื่อนต่างเพศ
ตอบ ค. เอ ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลทำรายงาน

6.การประเมินค่า (Evaluation) หมายถึง การวินิจฉัย หรือตีราคา เรื่องราว ความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยสรุปเป็นคุณค่าว่า ดี-เลว
           6.1 การประเมินค่าโดยอาศัยข้อเท็จจริงภายใน หมายถึง การประเมินค่าโดยใช้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตามท้องเรื่อง หรือตามสถานการณ์นั้น ๆ
           6.2 การประเมินค่า โดยอาศัยเกณฑ์ภายนอก หมายถึง การประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์จากสิ่งภายนอกเรื่องราวนั้น ๆ เป็นหลักในการพิจารณาตัดสิน

 ตัวอย่างข้อสอบ
           ข้อความในข้อใดสมเหตุสมผลที่สุด
. สำนวนอดเปรี้ยวไว้กินหวานกับหวานเป็นลมขมเป็นยาเหมือนกัน
เพราะเป็นสำนวนเกี่ยวกับรสทั้งสองสำนวน. การออกกำลังกายเป็นประจำทำให้ร่างกายแข็งแรงและไม่แก่
. นักร้องคนนั้นจะต้องมีชื่อเสียงโด่งดังตลอดไป เพราะได้รับรางวัลมาแล้วสามครั้ง
ง. ข้อให้ท่านทั้งหลายพยายามทำความดีต่อไป เพราะธรรมะย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม
ตอบ ง. ข้อให้ท่านทั้งหลายพยายามทำความดีต่อไป เพราะธรรมะย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 4 สรุปเรื่อง Inside out

สรุป inside out


Inside out  เรื่องราวของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง ชื่อว่า ไรลีย์ และ ตัวละครหลักๆ นอกจากไรลีย์และครอบครัว ก็มีตัวละครที่เป็นตัวแทนของอารมณ์ความรู้สึกต่างๆที่อยู่ในสมองของเธอ เมื่อตอนเป็นเด็กเธออาศัยอยู่กับพ่อแม่ที่มินนิโซต้า เมืองที่อากาศหนาวเย็น แม้อากาศหนาว แต่ไรลีย์อยู่ในบ้านที่อบอุ่น พ่อแม่รักและเอาใจใส่ มีเพื่อนที่ดี มีกีฬาที่ชอบและเล่นได้ดีอย่างฮอกกี้ ไรลีย์เป็นเด็กที่มีความสุข หนังทำให้เราเห็นว่า ลูกแก้วความทรงจำของไรลีย์มีแต่สีทองเสียมาก สีทองหมายถึงสีแห่งความสุขจอยเหมือนจะเป็นนางเอกของอารมณ์ต่างๆ ที่ประกอบด้วย เศร้าซึม(sadness) กลัว (fear) หยะแหยง(disgust) ฉุนเฉียว(anger) เพราะเวลาที่จอยออกโรง ไรลีย์จะมีความสุข มีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะวันหนึ่งไรลีย์ต้องย้ายบ้านไปอยู่ที่ซานฟรานซิสโก เหมือนพ่อจะมีปัญหาเรื่องเงิน ความเครียด บ้านที่ดูสกปรกไม่น่าอยู่ ต้องย้ายโรงเรียน ทุกสิ่งเข้ามาพร้อมกันทำให้ไรลีย์ยิ้มไม่ออก เธอเริ่มเศร้า โกรธ กลัว จอยพยายามให้ไรลีย์กลับมามีความสุขเหมือนเดิมโดยพยายามจัดการทุกอย่าง และบอกให้เศร้าซึมอยู่เฉยๆไม่ต้องทำอะไรเพราะกลัวไรลีย์จะเกิดปัญหา แต่ในความเป็นจริงเราหลีกเลี่ยงความรู้สึกของเราไม่ได้ เราต้องรู้จักเรียนรู้และยอมรับความรู้สึกอื่นๆด้วย


สิ่งที่ได้จากการดู Inside out

1. ความเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติของชีวิต
ขึ้นชื่อว่าชีวิต มันก็ย่อมเต็มไปด้วยความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง ชีวิตคนเราจะได้เจอทุกอารมณ์
2. ความสุขไม่ใช่การเริงร่าอยู่ตลอดเวลา
Joy (ความร่าเริง) คือ อารมณ์ที่โดดเด่นที่สุดของไรลีย์ในวัยเด็ก แต่แล้วจุดเปลี่ยนสำคัญก็เกิดขึ้น ในวันที่ครอบครัวของเธอต้องย้ายบ้าน ซึ่งทำให้อารมณ์อื่นๆ เริ่มมีบทบาทในชีวิตของไรลีย์มากขึ้น 
3. ความเศร้าสอนให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
คนเศร้ามักจะเป็นคนที่ชอบคิดใคร่ครวญอะไรต่างๆ อยู่ในใจเสมอ (คล้ายๆ กับการอ่านคู่มือสมอง) และนั่นก็ทำให้ Sadness มีความเข้าอกเข้าใจในพื้นที่ต่างๆ ภายในจิตใจของไรลีย์ดีกว่าใคร
4. ความสุขมักจะปนมากับความเศร้าอยู่เสมอ
ความทรงจำหลายๆ อย่างของคนเรามักจะอยู่ในรูปของความสุขที่ปนมากับความเศร้า หรือที่เรียกกันว่า mixed feeling ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เข้าใจได้ยาก
5. การเก็บกดความเศร้าเอาไว้เป็นเรื่องไม่ดี

ฉากหนึ่งที่สำคัญมากในหนังก็คือ ตอนที่ Joy เอาชอล์คมาวงที่พื้นรอบๆ ตัว Sadness เพื่อไม่ให้เธอออกมาวุ่นวายและทำให้ความทรงจำของไรลีย์เศร้าหมองอีก ซึ่งนั่นก็คือการละเลยความเศร้าที่เกิดขึ้น และพยายามหลอกตัวเองว่ามีความสุขนั่นเอง
 

เราต้องรู้จักการรับมือกับความเศร้า และหาวิธีทำให้ความเศร้าหายไป

ความเกี่ยวข้องกับทฤษฎี

1.  ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยธรรมชาติมนุษย์จะเป็นผู้พร้อมที่จะมีกริยากรรม  เช่นกับไรลีย์ เมื่อเขาลืมตาดูโลกขึ้นมาจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอก ในภายในไรลีย์จะมีระบบจัดเก็บรวบรวมกระบวนการต่างๆอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอก มีทั้งการซึมซาบประสบการณ์และการตีความต่างๆ

2.  ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์
ไรลีย์จะแสดงพัฒนาการทางสมองด้วยการกระทำ และดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิต เรียกว่า Enactive Mode เป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยการจับต้อง เช่น ผลัก ดึง จับ การเล่นกีฬาของไรลีย์  นอกจากใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กยังสามารถถ่ายทอดด้วยภาพในใจของเค้า  เมื่อไรลีย์สามารถที่จะสร้างจินตนาการได้ เด็กก็สามารถรับรู้สิ่งต่างในโลกได้ด้วยการใช้ Iconic Mode

3.  ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอองซูเบล
เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่หรือหลักการและกฏเกณฑ์ที่เคยได้เรียนมาแล้วไรลีย์  ที่เคยเล่นกีฬามาแล้วจะสามารถจำวิธีการเล่นได้โดยไม่ต้องจดจำ
4. ความรู้เกี่ยวกับการรู้คิดของตนเอง คือ ความรู้ส่วนตัวของแต่ละบุคคลต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้หรือสิ่งที่ตนรู้ จากการเรียนรู้อะไรก็ตามด้วยความเข้าใจ  เหมือนกับไรลีย์ที่มีความสามารถทางด้านกีฬาฮอกกี้ เมื่อเธอทำมันได้ดีเธอก็อยากจะทำไมต่อไปเรื่อยๆ

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปบทที่3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism หรือ S-R Associationism)เน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง
นักจิตวิทยาสามารถแยกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.      พฤติกรรมเรสปอนเดนส์ (Respondent Behavior ) เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าก็จะตอบสนองเองตามธรรมชาติ
2.       พฤติกรรมโอเปอเรนต์ (Operant Behavior) เป็นพฤติกรรมที่บุคคล หรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา(Emitted)โดยปราศจากสิ่งเร้าแน่นอน

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข 
ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR) 
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง 
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR) 



แนวคิดของวัตสัน(Watson)
วัตสันได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของมนุษย์โดยศึกษาเรื่องความกลัว ในการศึกษาครั้งนี้ได้ให้ข้อสังเกตว่าเด็กจะกลัวเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน แต่จะไม่กลัวสัตว์ประเภทหนู การทดลองโดยการปล่อยให้อัลเบิร์ตเล่นกับหนูขาวในขณะที่เอื้อมมือไปจับหนูขาวก็ใช้ฆ้อนเคาะแผ่นเหล็กเกิดเสียงดัง จนทำให้อัลเบิร์ตกลัวหนูขาว ต่อมาแก้โดยให้มารดาอุ้มและให้อัลเบิร์ตจับหนูขาวแรกๆยังกลัวอยู่แต่พอแม่ปลอบว่าไม่ต้องกลัวและให้จับหนู จนสามารถจับได้โดยปราศจากความกลัว หลักการนี้เรียกว่า Counter Conditioning





ทฤษฎีการวางเงื่อนไขด้วยการกระทำ (Operant Conditioning Theory)

          ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike)  ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น แล้วนำปลาไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจากนั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น
จากการทดลองธอร์นไดค์อธิบายว่า การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า แมวเกิดการเรียนรู้ด้วยการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้

กฎการเรียนรู้
1.      กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) การเรียนรู้
2.      กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อย ๆ
3.      กฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) การเรียนรู้และนำไปใช้บ่อย ๆ



ทฤษฏีการเรียนรู้ของ Skinner
Burrhus Skinner นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory หรือ Instrumental Conditioning หรือ Type-R. Conditioning) เขามีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้น จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov Skinnerได้อธิบายคำว่า" พฤติกรรม " ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ สิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อน(Antecedent) - พฤติกรรม(Behavior) - ผลที่ได้รับ(Consequence)
ซึ่งเขาเรียกย่อๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับ
การศึกษาในเรื่องนี้ Skinner ได้สร้างกล่องขึ้นมา มีชื่อเรียนกว่า Skinner Box กล่องนี่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีคานหรือลิ้นบังคับให้อาหารตกลงมาในจาน เหนือคานจะมีหลอดไฟติดอยู่ เมื่อกดคานไฟจะสว่างและอาหารจะหล่นลงมา Skinner Box นำนกไปใส่ไว้ในกล่อง และโดยบังเอิญนกเคลื่อนไหวไปถูกคานอาหารก็หล่นลงมา อาหารที่นกได้นำไปสู่การกดคานซ้ำและการกดคานแล้วได้อาหาร

การเสริมแรง(Reinforcement )
การเสริมแรง(Reinforcement ) หมายถึงสิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการในการทดลอง Skinner ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1. ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร เป็นต้น
2. ตัวเสริมแรงทางลบ (Negasitive Reinforcement) หมายถึงสิ่งเร้าใดเมื่อนำออกใช้แล้ว ทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น เสียงดัง คำตำหนิ อากาศร้อน กลิ่นเหม็น เป็นตัวเสริมแรงทางลบ

การลงโทษ (Punishment) การเสริมแรงทางลบและการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน โดยเน้นว่าการลงโทษเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2558

คำถามท้ายบทที่ 1

คำถามท้ายบทที่ 1
1. MOOCs (Massive Open Online Courses) ถือว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทใด และเพราะอะไร
ตอบ MOOCs เป็น นวัตกรรมการเรียนการสอน เพราะ เป็นรูปแบบการนำเสนอการเรียนรู้หลักสูตรต่างๆ ทางออนไลน์ ที่เข้าถึงผู้เรียนจำนวนมากๆ ได้ผ่านทางหน้าเว็บไซต์
2. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาแบ่งออกได้กี่ประเภทและแต่ละประเภทมีข้อดี อย่างไร
ตอบ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท
2.1    นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร ข้อดี เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองต่อคามต้องการ เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
2.2    นวัตกรรมการเรียนการสอน ข้อดี เป็นการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีการสอนแบบใหม่ๆที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล
2.3    นวัตกรรมสื่อการสอน ข้อดี เป็นการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตสื่อการเรียนการสอน
2.4    นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ข้อดี เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้เป็นอย่างดี
2.5    นวัตกรรมการบริหารจัดการ ข้อดี เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์
3. สมมติว่านักศึกษาไปเป็นครูประจำการ นักศึกษาจะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาใดเข้ามาช่วยในการจัดการในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล(Individual Different) ของผู้เรียนที่นักศึกษาไปสอนและเพราะเหตุผลใดจึงเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานั้น
ตอบ นวัตกรรมการเรียนการสอน เพราะ เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงคิดค้นพัฒนาวิธีการสอนแบบใหม่ๆที่ตอบสนองการเรียนรายบุคคล เราสามารถเลือกใช้วิธีการสอนได้หลายหลากให้เหมาะกับนักเรียนแต่ละคน นักเรียนบางคนอาจชอบเรียนแบบ การเรียนแบบมีส่วนร่วม หรือบางคนชอบเรียนแบบการใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น
4. ทำไมนักศึกษาวิชาชีพครู จึงต้องเรียนรู้และเข้าใจในเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ตอบ เพราะ นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มีหลายประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกัน ถ้าเราเรียนรู้จนเข้าใจแต่ละประเภทเป็นอย่างดี เราก็จะเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
5.  นักศึกษายกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันพร้อมทั้งอธิบายข้อดีและข้อจำกัด ของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น ๆ มา 1 ประเภท
ตอบ E-Learning  เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ
ข้อดี
1.ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แล้วยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
2.ช่วยทำให้ผู้สอนสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้อย่างละเอียดและตลอดเวลา
                3.ช่วยทำให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนของตนเองได้
                6. ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ รวมทั้งเนื้อหาที่มีความทันสมัย
                7. ทำให้เกิดรูปแบบการเรียนที่สามารถจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนในวงกว้างขึ้น
                8. ทำให้สามารถลดต้นทุนในการจัดการศึกษานั้น ๆได้
        ข้อจำกัด
                1.ผู้สอนที่นำe-Learningไปใช้ในลักษณะของสื่อเสริม ถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเลย จะทำให้แรงจูงใจในการเรียนหมดเร็ว
                2.ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ให้ เนื้อหาแก่ผู้เรียน มาเป็นผู้ช่วยเหลือและให้คำแนะนำต่าง ๆ แก่ผู้เรียน
                3.การลงทุนในด้านของ e-Learningต้องครอบคลุมถึงการจัดการให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาและการติดต่อสื่อสารออนไลน์ได้สะดวก
                4. การออกแบบ e-Learning จะต้องเน้นให้มีการออกแบบให้มีกิจกรรมโต้ตอบอยู่ตลอดเวลา เนื้อหาต้องมีความถูกต้องชัดเจน และยังคงต้องเน้นให้มีความน่าสนใจ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้
                5. ผู้เรียนต้องรู้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างวินัยในการเรียนรู้ด้วยตนเอง